การตรวจวัดแรงดัน และอัดตุ้ม
เริ่มแรก เราจะรู้ได้อย่างไรว่าควรเช็คแรงดัน หรืออัดตุ้มได้แล้ว
คำตอบคือ กระทำได้2วิธี
1. กระทำการตรวจเช็คอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
2. นอกเหนือจากตรวจเช็คปีละ1 ครั้งแล้ว หากใช้รถมากหรือถนนไม่ดี ควรเช็คปีละ2ครั้งแทน หรือหากรู้สึกรถกระด้างผิดปกติ หรือ ปั้มตัดต่อการทำงานบ่อยเกินควร

ข้อพึงระวัง....

- หากรถมีอาการขึ้นช้า พวงมาลัยหนัก เบรกไม่ดี หรือเบรกสู้เท้า ก่อนจะลงมือเปลี่ยนของชิ้นใหญ่ ให้ลองถอดกรอง LHM มาดูก่อน ล้างทำความสะอาด และเช็คแรงดันตุ้ม โดยเฉพาะตุ้มกลาง
-ไม่ควรสงสัยและเปิดตุ้มเติมใหม่เลยโดยยังไม่ได้เช็คแรงดันที่เหลือ จะทำการเปิดและอัดใหม่เมื่อแรงดันต่ำกว่ามาตรฐานที่ระบบนตุ้มประมาณ20% เพราะการเปิดตุ้มเพื่อเติมแต่ละครั้ง จะทำให้อายุตุ้มสั้นลงเรื่อยๆ แต่ก็ดีกว่าปล่อยแรงดันต่ำกว่า spec เพราะอาจแตกได้ง่ายกว่า

ข้อสังเกตุ....นอกเหนือจากเวลาเช็คแรงดันตามระยะ

- หากปั้มตัด ต่อเร็ว เช็คตุ้มกลาง
- เบรกไม่ดีเท่าที่ควร เช็คตุ้มกลาง และตุ้มเบรก และ/หรือ ตุ้มช่วยเบรก หรือบางทีเรียกง่ายๆว่าตุ้มกันยุบ ในรุ่นที่มีกันยุบ
- หากนั่งแล้วเหมือนเกวียนในบางล้อ หรือบางครั้งรู้สึกทั้งหน้ารถ หรือหลังรถ ให้ไปกดทีละมุมล้อดู ล้อไหนกดไม่ลง ตุ้มแตกครับ เปลี่ยนได้เลย
- หากรถกระด้างผิดปกติ ให้ไปกดดูแต่ละมุมล้อ หากล้อใด แข็งมากกว่าอีกด้าน ให้สงสัยว่าแรงดันต่ำ ไปตรวจเช็คและเติมได้ ก่อนที่ตุ้มจะแตกครับ แต่วิธีนี้ใช้กับ Xantia ไม่ได้ หากท้ายรถกระด้าง เช็คแรงดันได้เลยครับ
- ตุ้มหลัง Xantia แรงดันน้อย spec อยู่ที่35 เราเติมไปสัก 45 จะดีกว่า หนึบดี และทนทานได้ 6 เดือน หรือใช้น้อยก็อาจได้ใกล้ 1 ปี มิฉะนั้น 3 เดือนแรงดันก็ต่ำกว่ามาตรฐานแล้ว ด้านท้ายรถจะกระด้าง ต้องเติมใหม่ ซึ่งน่ารำคาร
- ตุ้มหน้า รุ่น3ชั้น ไม่ต้องมีการเติม ไม่ควรไปเปิดเด็ดขาด เท่าที่พบ ไม่เคยเห็นแรงดันขาดไปเลย ใช้จนแตก เกินกว่า5ปี 7-8 ปีก็ยังใช้กันอยู่โดยแรงดันไม่เคยพร่อง หากหมดอายุ จะแตกไปเลย เพื่อความมั่นใจ จะเอาออกเช็คก็ได้ แต่เช็คแรงดันเท่านั้นนะครับ อย่าเปิดเพื่อฟังเสียง และเติมใหม่ เสียของครับ
ขั้นตอนการวัด และอัดตุ้ม
ถอดตุ้มจากรถ
เข้าเครื่อง เช็คแรงดัน รุ่นแรก
ดูว่าเหลือน้อยกว่ามาตรฐานเกิน 20 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นแท่นจับ ค่อยๆ หมุนเปิดจุกเติม
ภายในจุกเติม อย่าลืมเปลี่ยน โอริงจุกเติมด้วย มิฉะนั้น แรงดันอยู่ไม่ทน จากนั้น เติมก๊าสเข้าตาม spec อย่างช้าๆ ด้วยเครื่องเติมตุ้ม  และปิดจุกเติมจากด้านล่าง และจะเอาขึ้นแท่นทดสอบแรงดันอีกครั้งก็ได้ครับ

จากนั้นก็เอาใส่รถกลับตามเดิม ก็เสร็จพิธี
Second Generation-2G ของเครื่องเช็คและอัดตุ้ม
ภาพบนคือเครื่องเช็คแรงดันตุ้ม รุ่นที่2 [Second Generation] แบบพกพา พกง่าย ใช้สะดวก
ภาพที่เหลือคือเครื่องอัดแก๊สตุ้มแบบรุ่นใหม่อีกเช่นกัน [Second Generation-2G] แบบขนาดกระทัดรัด ถอดประกอบได้ด้วยน๊อต2ตัวจากรูป และหมุนปิดจุกเติมแก๊สได้สะดวก อีกทั้งโต๊ะทำงาน สามารถนำไปใช้ทำอย่างอื่นได้ รูบนโต๊ะต่างๆใช้วางหัวเปิดจุกตุ้ม และไขควงได้เป็นอย่างดี อีกทั้งพับได้ง่ายดาย เอาขึ้นท้ายรถก็สะดวกครับ แต่น้ำหนักเครื่องก็ยังหนักมากอยู่ดี
โปรดติดตามเครื่องอัดตุ้ม [Second and a half generation-2.5G] เร็วๆนี้
เป็นไงครับ ฟังดูเหมือนระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างไงอย่างงั้นเลยนะครับ แต่ไม่รู้เมื่อไหร่จะถึง 3G คงต้องรอ AIS (GSM ADVANC) ทำก่อนซะหล่ะมั้ง !!!
1